วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 1

Learning log 1
(ในและนอกห้องเรียน)
จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน ได้ความรู้ 2 ประเด็นคือ
ประเด็นที่ 1

 
                                              I + 1 = Comprehensible Input


จากโครงสร้างดังกล่าวสามารถสรุปเป็นข้อมูลได้ดังนี้
I = นักเรียน 
+1 = เป็นข้อมูลที่ครูสอนนักเรียนซึ่งจะเป็น +2,+3,+4,+5 ก็ได้ แต่ครุต้องรู้พื้นฐานนักเรียนมาก่อน (Background           Knowledge) และต้องสอนนักเรียนในความรู้ที่ยากขึ้นมาระดับหนึ่ง
Comprehensible Input = ความเข้าใจหรือผลที่นักเรียนได้รับจากครูผู้สอน แต่ถ้าครูผู้สอนใช้ I+1แล้วนักเรียนยังไม่เข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวครูผู้สอน แต่ปัญหาอยู่ที่นักเรียน
                  ซึ่งสรุปได้ว่าในการเรียนการสอนที่จะให้ได้ผลสำเร็จที่ดีนั้น ครูจะต้องรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน เพื่อจะได้ป้อนข้อมูลที่เหมาะสมให้แก่นักเรียน เพราะว่าถ้าครูจะป้อนข้อมูลที่ยากเกินไปให้กับเด็กก็จะเกิดช่องว่างและทำให้นักเรียนไม่เข้าใจโดยในการที่ครูจะรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียนได้นั้น อาจจะใช้การทดสอบโดยการ Pre-test หรือถามปัญหาในห้องเรียน

ประเด็นที่ 2 จากการที่ได้เรียนรู้เรื่อง Tense คือ
                ได้รู้ว่าคำกริยาในประโยคภาษาอังกฤษที่บ่งบอกถึงการกระทำว่าเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบัน กำลังดำเนินหรือจบไปแล้ว ซึ่งในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมักจะมีปัญหาเรื่องเวลา ประโยคในภาษาอังกฤษที่ใช้กาลต่างกัน อาจแลเป็นภาษาไทยเหมือนกันคล้ายกับว่าไม่มีข้อตกต่างกันเลย หรือบางครั้งใช้กาลต่างกัน
 เช่น  He lived in Nakhon Si Thammarat for a year.
        ใช้กริยาเป็น past simple คือ เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชมาก่อน 1 ปี
         He has lived in Nakhon Si Thammarat for a year.
        ใช้กริยา present per fect  คือเขาอยู่นครศรีธรรมราชมาหนึ่งปีแล้ว
รูปประโยคในภาษาอังกฤษทั้งสองไม่มีคำบอกกาลแต่สิ่งที่บอกให้ทราบคือรูปของคำกริยาที่ใช้ต่างกัน ในภาษาไทยรูปกริยาไม่บอกกาลให้เราทราบ เวลาแปลจึงจำเป็นต้องเติมคำขยายเข้าไปเพื่อให้ได้ความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ ซึ่งในการแปลเราควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.             ต้องเข้าใจว่า กาล ในภาษาอังกฤษนั้น นอกจากจะบอกว่าการกระทำเกิดขึ้นเมื่อไร การใช้กาลยังบอกให้ทราบถึงสิ่งอื่นๆอีกด้วย
2.             ตีความให้ได้ก่อนว่าการใช้กาลนั้นๆในประโยคนั้นหมายความว่าอย่างไร
3.             ในภาษาไทย ควรใช้ข้อความอย่างไรจึงจะได้ความหมายตรงกัน
4.             ถ้าจำเป็นต้องเติม ตัด หรือเปลี่ยนแปลงคำขยายเกี่ยวกับเวลาอย่างไร ต้องให้มีลักษณะและสำนวนเป็นไทยในรูปแบบที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเพลง waiting for the end ซึ่งมีคำศัพท์ ที่น่าสนใจดังนี้ the eye of the strom = the center of a disagreement , the middle of a mass of server weather และ at the mercy อีกทั้งได้ฝึกทักษะการฟังและฝึกการพูดไปพร้อมๆกัน ทำให้เราได้จำคำศัพท์เพิ่มขึ้นและสามารถสร้างความสนุกสนานให้กับตัวเราเองอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น