วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 7 ในห้องเรียน

Learning log 7
ในห้องเรียน
                การศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้ศึกษาเรื่อง conditional sentence หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทและการนำไปใช้ของ if-clause เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยคเงื่อนไข ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องศึกษา ก็เพราะในโ,กนี้ทุกคนย่อมมีความต้องการ ความปรารถนา ความอยากได้ อยากมี ชีวิตของเราเลยสร้างเงื่อนไขเยอะแยะไปหมด เราจะใช้คำว่า ถ้า ….ถ้า เยอะมากในการสร้างเงื่อนไขหรือสมมตเหตุการณ์ต่างๆขึ้น ดังนั้นหากเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง if-clause แล้ว เราจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยใช้ในการสร้างประโยคให้ถูกต้องและมีความสละสลวย ในการพูดสนทนาหรือนำมาใช้ในการเรียนได้

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences)   คือประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดคะเนว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะมีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งตามมา ประโยคเงื่อนไข จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause)และ ส่วนที่เป็นผล (Main clause) เช่น If it is fine, we will play basketball.
ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คือ If it is fine ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คือ we will play basketballข้อควรจำ จะเอา If - clause หรือ Main clause ขึ้นต้นก่อนก็ได้ แต่ถ้าเอา If - clause ขึ้นต้น จะต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) หลัง If - clause แต่ถ้าเอา Main clause ขึ้นต้น ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) หลัง Main clause เช่น We will play basketball if it is fine.
If-clause สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ประเภทแรกคือ เป็นการสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าน่าจะเป็นไปได้หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า present real ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้ If + present tense verb, will/may / can + v1 เช่น If he works hard,he will pass exam. หรือ He will pass exam if he works hard. ถ้าเขาทำงานหนักขาก็จะสอบผ่าน
ประเภทที่สอง ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบันหรืออนาคต เรียกอีกอย่างหนึงว่า present unreal มีโครงสร้างดังนี้ If + past tense verb, would/might / could + v1 เช่น If he worked harder,he would pass the exam. หรือ He would pass the exam if he worked harder. ถ้าเขาทำงานหนักมากขึ้นเขาก็จะสอบผ่านซึ่งจริงแล้วเขาอาจจะสอบไม่ผ่านก็ได้
ประเภทที่สาม คือการสมมติในอดีตแสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความจริงในอดีต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า past unreal มีโครงสร้างดังนี้ If + past perfect tense verb, would have  + v-ed เช่น If he had worked hard,he would have passed the exam. หรือHe would have passed the exam if he had worked hard. ถ้าเขาทำงานหนักเขาก็จะสอบผ่าน แต่ความเป็นจริงเขาสอบแล้วแต่ไม่ผ่าน
หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่อง conditional sentence หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า if-clause แล้วนั้น ทำให้เห็นถึงความสำคัญในการนำมาใช้และสามารถสร้างประโยคได้อย่างถูกต้อง และยังได้รู้ว่า if-clause นั้นมีประเภทที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างประโยคแบบใดและเลือกใช้โครงสร้างนั้นได้อย่างถูกต้อง การสร้างประโยค if-clause นั้นไม่ได้ยากเท่าไร ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนแล้วเรานำมาใช้บ้างไหม หากเรามีการฝึก และนำมาใช้บ่อยๆ เราก็จะเกิดความชำนาญ และสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องและสละสลวยมากขึ้น

2. เงื่อนไขที่แสดงความสามารถจะใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น can + คำกริยารูปเดิม
เช่น If the rain stops, they can go out.
(ถ้าฝนหยุดตกพวกเขาสามารถออกไปข้างนอกได้)
3. เงื่อนไขที่แสดงการขอร้องหรือคำสั่งจะใช้โครงสร้างดังนี้
3.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
3.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น must/should + คำกริยารูปเดิม
เช่น If you want to be fat, you must (should) eat more.
(ถ้าคุณต้องการอ้วนคุณต้อง / ควรทานให้มากขึ้นกว่านี้)
4. เงื่อนไขที่แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นนิสัยหรือข้อเท็จจริง จะใช้โครงสร้างดังนี้
4.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
4.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
เช่น If you throw stone into the water, it sinks.
(ถ้าคุณโยนก้อนหินลงไปในน้ำ มันจะจม)
2. ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงเหตุการณ์ที่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ หรือไม่อาจเป็นจริงได้เลย ใช้กับเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต จะมีลักษณะประโยคดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 2
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would + คำกริยารูปเดิม
เช่น If he worked harder, he would pass the exam.
หรือ He would pass the exam if he worked harder.
(ถ้าเขาทำงานหนักมากขึ้นเขาจะสอบผ่านซึ่งที่จริงแล้วเขาอาจจะสอบไม่ผ่านก็ได้)

นอกจากนี้แล้ว ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน Main clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
1. ใช้ might แทน would เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ และใช้ could แทน would เพื่อแสดงความสามารถ โดยใช้โครงสร้างดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 2
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น might/could + คำกริยารูปเดิม
เช่น If he tried again, he might get the answer.
(ถ้าเขาพยายามอีกครั้งเขาอาจจะได้คำตอบ = อาจจะได้คำตอบหรือไม่ได้ก็ได้)
2. ถ้าคำกริยาใน Main clause เป็น Verb to be จะต้องใช้ were เพียงตัวเดียว    ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไรก็ตาม โดยใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น were
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would + คำกริยารูปเดิม
เช่น If I were you, I would play with Sak.
(ถ้าผมเป็นคุณผมจะเล่นกับศักดิ์=ไม่อาจเป็นไปได้เพราะผมไม่สามารถเป็นคุณได้)
3. ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความจริง เพราะเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว จะมีลักษณะประโยคดังนี้
3.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
3.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If he had worked hard, he would have passed the exam.
หรือ He would have passed the exam if he had worked hard.
(ถ้าเขาทำงานหนักเขาก็จะสอบผ่านแต่ความเป็นจริงเขาสอบแล้วแต่สอบไม่ผ่าน)

นอกจากนี้แล้ว ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน Main clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
1. ใช้ could have แทน would have เพื่อแสดงความสามารถ โดยใช้โครงสร้างดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น could have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If he had met her, he could have helped her.
(ถ้าเขาพบเธอเขาสามารถที่จะช่วยเธอได้ = ความจริงเขาไม่ได้พบเธอ)
2. ใช้ might have แทน would have เพื่อแสดงความเป็นไปได้ โดยใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น might have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If we had finished our homework, we might have gone to the movie.

(ถ้าพวกเราทำการบ้านเสร็จพวกเราอาจจะไปดูหนัง = ความจริงพวกเราไม่ได้ไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น