วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 4 ในห้องเรียน

Learning log 4
ในห้องเรียน
            มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีการสื่อสารกัน ซึ่งการสื่อสารนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี แต่การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การพูดเป็นการสื่อสารระหว่างกัน ในการที่จะสื่อสารการพูดให้เข้าใจกันนั้นต้องประกอบไปด้วยผู้พูดและผู้ฟัง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การใช้ประโยคให้ถูกต้องตามหลักที่ถูกกำหนดไว้ หากใช้ประโยคไม่ถูกต้องก็จะทำให้ผู้ฟังกับผู้พูดนั้นสื่อสารกันไม่เข้าใจไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสำคัญที่ผู้คนนิยมใช้สื่อสารกันทั่วโลก เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้หลักของการสื่อสารและรูปแบบโครงสร้างของประโยค และการเรียงประโยคให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำมาใช้และสื่อสาร สนทนากับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง

ประโยค คือกลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคขยายประธานที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบโดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ภาคประธาน มีได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นคำนาม เป็นคำสรรพนาม เป็นอนุประโยค เป็น gerund เป็น gerund phrase เป็น infinitive และเป็น infinitive phrase  ภาคแสดง จะต้องประกอบด้วยคำกริยา และมีกรรมรวมเรียกว่า verb completion หรือส่วนขยายที่เรียกว่า verb modifier ประโยคในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. Simple sentence  คือประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค 2. Compound sentence คือประโยคความรวม 3. Complex sentence คือ ประโยคความซ้อน 4. Compound-Complex sentence คือ ประโยคความรวมและความซ้อน
ประโยคประเภทแรกที่จะศึกษาคือ Simple sentence คือประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค หมายถึง ข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความเดียวไม่กำกวม สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียว และกริยาตัวเดียว Simple sentence สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 6 รูปแบบ 1. Affermative sentence (ประโยคบอกเล่า) 2.Negative sentence (ประโยคปฏิเสธ) 3. Interrogative sentence (ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ) 4.Negative Question (ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ) 5.Imperative sentence (ประโยคขอร้องหรือบังคับ) 6.Exclamation sentence (ประโยคอุทาน)
ชนิดที่สองคือ ประโยคความรวม (Compound sentence) ซึ่งเป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น and,or, nor,but, คำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายคำด้วยกัน เช่น  and, not only….but also, in addition, besides, in the same way  จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน   คำว่า but,  nor ,in contrast ,neither nor จะใช้ในการเชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน คำว่า because และ for instance ใช้ในการเชื่อมประโยคเพื่อบอกเหตุผลหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำเชื่อมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently เป็นต้น
ประโpคถัดมาคือคือ ประโยคความซ้อน(Complex sentence) เป็นประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากประโยคเล็ก 2 ประโยค ซึ่งใน 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากันคือ ประโยคหนึ่งเรียกว่า main clause (ประโยคหลัก)  ส่วนอีกประโยคหนึ่งเรียกว่า subordinate clause (ประโญคอาศัย) เป็นประโยคที่ต้องอาศัยประโยค main clause เสียก่อนแล้วจึงได้เนื้อความสมบูรณ์ หากแยกกันอ่านทีละประโยค ประโยค subordinate clause จะอ่านไม่ได้ความหมาย ในการรวมประโยค อาจใช้คำต่อไปนี้เป็นตัวเชื่อม main clause กับ subordinate clause คือ 1.ใช้คำเชื่อมแฝง เช่น when, while, if, although, after, before, as, since, etc. 2.ใช้ประพันธสรรพนามเป็นคำเชื่อม ได้แก่ who,whom.whose,which,that 3.ใช้สัมพันธ์วิเศษณ์เช่น when,whenever,where,where,why 
และชนิดสุดท้ายคือ ประโยคความรวมและความซ้อน (Compound-Complex sentence) คือประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยที่ประโยคใหญ่ทอนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กซ่อนอยู่ภายใน หรือจะกล่าวง่ายๆคือ ประโยคที่ประกอบขึ้นระหว่าง compound sentence กับ complex sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น ที่มีทั้งความรวมและความซ้อนอยู่ด้วยกัน ดังนั้น Compound-Complex sentence จึงประกอบด้วยประโยคหลัก main clause ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองคืออนุประโยค subordinate clause อย่างน้อย 1 ประโยค

หลังจากที่ได้ศึกษาชนิดของแต่ละประโยคแล้ว เราต้องศึกษาเกี่ยวกับ Adjective Clause(Relative Clause) Relative clause คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนกับ Adjective นั่นคือทำหน้าทีขยายคำนามและคำสรรพนาม บางครั้ง Adjective clause จะถูกเรียกว่า Relative clause   ลักษณะของประโยค Adjective clause จะนำหน้าด้วย relative word ดังคำต่อไปนี้ 1. Relative Pronoun คือสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค subordinate clause เข้ากับประโยค main clause โดยใช้เชื่อมหรือขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่ว่างอยู่ข้างหน้าประโยค adjective clause ซึ่งจะมีคำเชื่อมดังต่อไปนี้ who, whom, which, that, whose 2.relative adverb ได้แก่ where,when,why ตำแหน่งคือใช้ขยายคำคำนามหรือคำสรรพนาม ตัวใดให้วางประญค relative clause ไว้หลังคำนั้นและใช้แทนคำนามหรือสรรพนามในประโยคแล้วให้ตัดคำนาม หรือสรรพนามที่ใช้แทนออกไป และAdjective clause นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ 1. Defining Relative Clause  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่เป็น head word ของประโยค main clause โดยจะไม่ใส่ comma 2. Non-defining Relative Clause  เป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนาม และถูกแยกโดยใส่เครื่องหมาย comma (,)คั่นระหว่าคำนามกับ Adjective Clause
เราสามารถทำAdjective Clause ให้เป็น  Adjective Phrase สามารถทำได้โดยการลดรูป คำนำหน้า who, which, และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause  สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำดังนี้ คือ 1.Appositive Noun Phrase adjective clause ซึ่งมี who,whichและ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้ หากหลัง who,whichและ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้วจะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive 2.Prepositional Phrase adjective clause ซึ่งมี who,whichและ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้ หากหลัง who,whichและ that มีคำกริยาและคำบุพบท ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase 3. Infinitive Phrase adjective clause ซึ่งมี who,whichและ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase 4.Participial Phrase สามารถแยกออกเป็น present participial phrase adjective clause ซึ่งมี whoเป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who เป็นกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who  และเปลียนกริยาหลัง who เป็น present participial(v.ing) อีกอย่างหนึ่งก็คือ past participial phrase adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ถ้าหากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE+ past participial) ลดรูปโดยตัด which,who และ BE ออก เหลือแต่ past participle 
จากการศึกษาเกี่ยวกับประโยค ชนิดของประโยค adjective clause และการลดรูปของ Adjective Clause ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญ ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ทุกๆเรื่องทีศึกษานั้นมีความสำคัญและเราสามารถนำมาใช้ได้จริง และหากเรามีการฝึกใช้บ่อยๆจะทำให้เราเห็นการพัฒนาทั้งด้านการสื่อสารและการใช้ประโยคได้ดีขึ้นอีกด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น