วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสารคือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ
                ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ ถ้าหาได้ก็ไม่มีปัญหา ถ้าหาไม่ได้ก็คิดว่ามีปัญหา ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำ เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1      คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
1.1.1                   บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง ผู้พูด (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่ 3)
1.1.2                   พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
1.1.3                    การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร และสัมพันธ์กับประโยคอื่นอย่างไร
1.1.4                   นามนับได้กับนามนับไม่ได้ ความแตกต่างแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม -s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an  และต้องไม่เติม -s
1.1.5                   ความชี้เฉพาะ ประเภททางไวยากรณ์อีกหนึ่งประเภทที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีความสำคัญในภาษาไทยได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
1.2      คำกริยา เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมียางประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1                   กาล คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล
1.2.2                   การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
1.2.3                   มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนะคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
1.2.4                   วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
1.2.5                   กริยาแท้กับกริยาไม่แท้  ประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ
1.3      ชนิดของคำประเภทอื่น นอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่ต่างกัน ซึ่งผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษดังนี้
                2.1 หน่วยสร้างนามวลี ตัวกำหนด + นาม(อังกฤษ) vs นาม(ไทย)  นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
                2.2 หน่วยสร้างนามวลี ส่วนขยาย ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs ส่วนหลัก ส่วนขยาย(ไทย) ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก เป็นกริยาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ
                2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย) ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเน้น subject
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล คือหน่วยสร้างกริยาเรียง
3. สรุป
                ลักษณะทางโรงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
                3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
                3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์ ในการแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ ผู้แปลควรสำเหนียกความแตกต่างในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
                3.3เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                                นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยจะมีหรือไม่มีก็ได้
                                การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้าม
                                หน่วยสร้างคำวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
                                ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน และประโยคส่วนมากขึ้นต้นด้วยเรื่อง
                                หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
                ข้อสรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น