วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขว้าง และมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศให้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี
การแปลในประเทศไทย

                การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่รวมทั้งความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางได้ถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยได้รับความช่วยเหลือแนะนำและได้รับอุปการะในการพัฒนาประเทศจากต่างประเทศ นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโรงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
                1.การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
                2.การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา
                3.การแปลเป็นทักษะพิเศษ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
                4.ผู้แปลจะต้องสามารถถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
                การแปลจึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ แต่การแปลทางด้านวรรณคดีและการแปลร้อยกรองเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน
คุณสมบัติของผู้แปล
                1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
                2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
                3.เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษาของภาษา
                4.เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
                5.ผู้แปลต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
                6.ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ
                สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านจากต้นฉบับทีเดียว ดังนั้น ภาษาทั้งสอง คือภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
                1.ภาษาที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง
                2.สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
                3.ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงความหมาย 7 ประการดังนี้
                1.อนาคตกาล
                2.โครงสร้างประโยคอื่นๆ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
                3.ศัพท์เฉพาะ
                4.ตีความทำนาย
การวิเคราะห์ความหมาย
                สิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ความหมายคือ
                                1.องค์ประกอบของความหมาย
                                2.ความหมายและรูปแบบ
                                3.ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1.คำศัพท์
2.ไวยากรณ์
3.เสียง
ความหมายและรูปแบบ
                1.ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
                2.รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
ประเภทของความหมาย
                นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน
                1.ความหมายอ้างอิง หมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
                2.ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
                3.ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย
                4.ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบโดยนัย องค์ประกอบของการเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                                4.1 สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
                                4.2 สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
                                4.3 ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น